วันจันทร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2554

ความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น

Edit TitleEdit Detail
คนเราไม่สามารถทำงานคนเดียวเพียงตามลำพังได้ แน่นอนว่าทุกคนย่อมต้องมีการติดต่อสัมพันธ์กับผู้อื่นไม่มากก็น้อย การทำงานร่วมกับบุคคลอื่นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่สามารถหลีกหนีได้ ซึ่งคนที่คุณจะต้องทำงานร่วมด้วยอาจเป็นได้ทั้งคนที่อยู่ภายในหรือภายนอกหน่วยงานของคุณเอง หากคุณสามารถปรับตัวเองให้ทำงานร่วมกับคนอื่นได้ คุณย่อมจะได้รับความร่วมมือ การยอมรับ และความช่วยเหลือต่าง ๆ ในการทำงาน รวมทั้งการได้รับข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทั้งภายในหน่วยงานและองค์กรของคุณเป็นอย่างดีการทำงานร่วมกับบุคคลอื่นเป็นสิ่งที่ยากหรือไม่บางคนมีพฤติกรรมที่สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี แต่บางคนประสบปัญหาในการทำงานร่วมกับบุคคลต่าง ๆ โดยจะเห็นได้จากการไม่ได้รับความช่วยเหลือ หรือร่วมมือใด ๆ รวมทั้งการไม่ได้รับข้อมูลต่าง ๆ ที่ต้องการดังนั้นความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นจึงเป็นสิ่งสำคัญและควรฝึกฝนให้มีขึ้น ขอให้คุณคิดถึงประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นอย่างมากมายหากคุณสามารถเข้ากับผู้อื่นได้ดี และเมื่อคุณได้รับการยอมรับและความร่วมมือจากบุคคลต่าง ๆ แล้วหล่ะก็ ย่อมจะส่งผลให้คุณเองก็มีความสุขและสนุกกับงานที่ทำอยู่ และในที่สุดก็จะส่งผลต่อเนื่องไปยังความสำเร็จในหน้าที่การงานของตัวคุณเองทั้งนี้การพัฒนาทักษะหรือความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ยาก และสามารถสร้างให้เกิดขึ้นได้ ตามแนวทางปฏิบัติง่าย ๆ ตามหลักของ P-S-Y-C-H-O ดังต่อไปนี้
P = Positive Thinking. คิดแต่ทางบวก สร้างโลกสวยงาม
S = Smile ยิ้มแย้มแจ่มใส สร้างความประทับใจ
Y = Yours จริงใจให้กัน ช่วยเหลือการงาน
C = Compromise . สมานสามัคคี ด้วยการประนีประนอม
H = Human Relations สัมพันธ์ที่ดี สร้างมิตรผูกพัน
O = Oral Communication. สื่อสารชัดเจน แก้ไขข้อขัดแย้ง
Positive Thinking. คิดแต่ทางบวก สร้างโลกสวยงาม
ในการทำงานใด ๆ ก็ตาม ทัศนคติเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งทัศนคติย่อมมีส่วนสัมพันธ์โดยตรงต่อการแสดงออกทางพฤติกรรม และหากคุณเองมีทัศนคติหรือความคิดในเชิงลบ ตัวคุณเองย่อมมีพฤติกรรมที่ไม่อยากให้ความร่วมมือใด ๆ การนินทาว่าร้าย การแสดงพฤติกรรมที่ก้าวร้าว และในที่สุดสิ่งเหล่านี้เองจะส่งผลทำให้คุณไม่มีความสุขกับงานของคุณเอง ดังนั้นเพื่อให้คุณสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและสนุกกับสิ่งที่กำลังทำอยู่ ขอให้คุณปรับความคิด ทัศนคติของตัวคุณเองโดยให้มองโลกในทางบวกไว้เสมอไม่ว่าจะเป็นกับหัวหน้างาน เพื่อนร่วมงาน ลูกทีมของคุณเอง หรือแม้กระทั่งลูกค้าที่คุณต้องติดต่อด้วย
Smile ยิ้มแย้มแจ่มใส สร้างความประทับใจ
คุณควรจะสร้างความประทับใจแก่ผู้อื่นด้วยการให้รอยยิ้ม การยิ้มแย้มแจ่มใสจะทำให้คุณมีเสน่ห์ที่น่าคบหาสมาคมด้วย แน่นอนว่าคงจะไม่มีใครอยากร่วมงานกับคนที่ทำหน้านิ่วคิ้วขมวดอยู่เป็นประจำ ทำหน้าบึ้งตึงอยู่ตลอดเวลา หรือทำสีหน้าเบื่อหน่ายเมื่อต้องทำงานร่วมกับผู้อื่น.การทำงานด้วยรอยยิ้ม จะส่งผลให้คุณทำงานอย่างมีความสุข และทำให้คุณพร้อมที่จะรับมือกับปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เพราะใจคุณมีความสุข ก็จะทำให้จิตคุณไม่ฟุ้งซ่าน และในที่สุดเมื่อจิตคุณนิ่ง คุณย่อมมีสติ สมาธิ และปัญญาในการวางแผนงานและตัดสินปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
Yours จริงใจให้กัน ช่วยเหลือการงาน
คุณควรมีความจริงใจที่จะให้ความช่วยเหลือ และช่วยแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในการทำงานแก่เพื่อนร่วมงานของคุณ โดยคุณควรมีความมุ่งหวังที่จะให้การทำงานประสบผลสำเร็จในเป้าหมายที่กำหนดขึ้นร่วมกัน ความจริงใจจะส่งผลให้คุณเป็นผู้รับฟังและเป็นผู้ให้ที่ดี ซึ่งคุณไม่จำเป็นที่จะต้องรอให้บุคคลอื่นมาร้องขอให้คุณช่วยก่อน คุณสามารถอาสาช่วยเหลือในการทำงานหรือการจัดการกับปัญหาต่าง ๆ และหากคุณมีความจริงใจในการให้ความช่วยเหลือแก่บุคคลต่าง ๆ ก็จะทำให้คุณมีความต้องการและความพยายามในการแสวงหาวิธีการเพื่อจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้น .ความจริงใจที่คุณแสดงออกมานั้นย่อมสร้างความประทับใจและทัศนคติที่ดีจากบุคคลรอบข้างตัวคุณ

Compromise สมานสามัคคี ด้วยการประนีประนอม
แน่นอนว่าการทำงานร่วมกันนั้นย่อมต้องมีปัญหาความขัดแย้งเกิดขึ้น อาจเนื่องมาจากทัศคติและความคิดเห็นที่ไม่ตรงกัน หรืออาจเป็นเพราะความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่ไม่ลงรอยกัน หากคุณเป็นผู้หนึ่งที่อยู่ในสถานการณ์ของความขัดแย้งที่เกิดขึ้น คุณควรเป็นผู้ทำให้เกิดความสามัคคีด้วยการสร้างความประนีประนอมระหว่างกัน ความพยายามทำให้สถานการณ์ลดความตึงเครียดลงโดยทั้งสองฝ่ายไม่เสียผลประโยชน์ สร้างสถานการณ์ในลักษณะของ Win Win Situation นั่นคือไม่มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้เปรียบหรือเสียเปรียบ..การที่คุณปล่อยนิ่งดูดาย โดยไม่พยายามทำอะไรเพื่อให้สถานการณ์ของความขัดแย้งคลี่คลายลง ย่อมจะส่งผลต่อการประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานของกลุ่มหรือทีมงานของคุณเองได้
Human Relations สัมพันธ์ที่ดี สร้างมิตรผูกพัน
ความมีมนุษยสัมพันธ์เริ่มจากการเริ่มต้นทักทาย การแสดงความเป็นมิตรกับบุคคลต่าง ๆ ทั้งที่รู้จักและที่ไม่รู้จักมาก่อน และรวมไปถึงการแสดงความรู้สึกเป็นห่วงเป็นใย การแสดงไมตรีจิตกับผู้อื่น ตลอดจนการแสดงกิริยาท่าทางและการใช้วาจาเพื่อสร้างความคุ้นเคย การรักษาความสัมพันธ์อันดีงามไว้.ซึ่งพฤติกรรมต่าง ๆ เหล่านี้จะทำให้คุณมีเพื่อนหรือเครือข่ายที่กว้างขวางที่พร้อมจะให้ข้อมูลและให้ความร่วมมือกับคุณในการทำงานใด ๆ ก็ตาม นอกจากนี้การที่คุณมีเครือข่ายมากมายย่อมหมายถึงคุณได้รับการยอมรับจากกลุ่มคนเหล่านั้นซึ่งพร้อมที่จะช่วยเหลือคุณอยู่ตลอดเวลา
Oral Communication สื่อสารชัดเจน แก้ไขข้อขัดแย้ง
ความสามารถในการสื่อสารด้วยวาจาเป็นลักษณะพฤติกรรมอย่างหนึ่งที่จำเป็นสำหรับการทำงานร่วมกับผู้อื่น หากคุณพูดหรือให้ข้อมูลข่าวสารที่คลุมเครือ ไม่ชัดเจน ถูกต้องแก่บุคคลหรือหน่วยงานอื่นแล้วหล่ะก็ เหตุการณ์เหล่านี้อาจจุดประกายให้คุณเกิดข้อขัดแย้งหรือปัญหาในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้.ดังนั้นขอให้คุณตระหนักไว้เสมอว่าข้อมูลที่คุณกำลังสื่อออกไปนั้นควรจะต้องชัดเจน ถูกต้อง และเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ เพราะข้อมูลของคุณอาจจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการทำงานของบุคคลหรือหน่วยงานอื่น
สรุปว่า การทำงานร่วมกับผู้อื่นให้ประสบผลสำเร็จได้นั้น คุณควรเริ่มต้นจากการมองตัวคุณเองและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวคุณเองให้เป็นคนที่มองโลกในแง่ดี การยิ้มแย้มแจ่มใสอยู่เสมอ มีความจริงใจในการให้ความช่วยเหลือ การประนีประนอม การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น รวมทั้งการให้ข้อมูลที่ชัดเจน .ซึ่งพฤติกรรมต่าง ๆ เหล่านี้ย่อมจะทำให้คุณมีเสน่ห์และสร้างความประทับที่ดีกับบุคคลอื่นที่คุณต้องทำงานร่วมด้วย

ที่มา : http://sumretpinpithak.igetweb.com/index.php?mo=3&art=509279

พืชสมุนไพร

กระเพรา
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ocimum sanctum L.
วงศ์ : Labiatae
ชื่ออื่น : กอมก้อ กอมก้อดง กะเพราขาว กะเพราแดง
ลักษณะ : กะเพรามี 3 พันธุ์ คือ กะเพราแดง กะเพราขาวและกะเพราลูกผสมระหว่างกะเพราแดงและกะเพราขาว มีลักษณะทั่วไปคล้ายโหระพา ต่างกันที่กลิ่นและกิ่งก้านซึ่งมีขนปกคลุมมากกว่าใบกะเพราขาวสีเขียวอ่อน ส่วนใบกะเพราแดงสีเขียวแกมม่วงแดง ดอกย่อยสีชมพูแกมม่วง ดอกกะเพราแดงสีเข้มกว่ากะเพราขาว
ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้ใบหรือทั้งต้นเป็นยาขับลมแก้ปวดท้อง ท้องเสีย และคลื่นไส้อาเจียน นิยมใช้กะเพราแดงมากกว่ากะเพราขาว โดยใช้ยอดสด 1 กำมือ ต้มพอเดือด ดื่มเฉพาะส่วนน้ำ พบว่าฤทธิ์ขับลมเกิดจากน้ำมันหอมระเหย การทดลองในสัตว์ แสดงว่าน้ำสกัดทั้งต้นมีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ สารสกัดแอลกอฮอล์สามารถรักษาแผลในกระเพาะอาหาร สาร eugenol ในใบมีฤทธิ์ขับน้ำดี ช่วยย่อยไขมันและลดอาการจุกเสียด
กานพลู
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eugenia caryophyllum Bullock & Harrison
วงศ์ : Myrtaceae
ชื่อสามัญ : Clove
ลักษณะ : ไม้ยืนต้น สูง 5-10 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรีหรือรูปใบหอก กว้าง 2.5-4 ซม. ยาว 6-10 ซม. ขอบเป็นคลื่น ใบอ่อนสีแดงหรือน้ำตาลแดง เนื้อใบบางค่อนข้างเหนียว ผิวมัน ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาวและร่วงง่าย กลีบเลี้ยงและฐานดอกสีแดงหนาแข็ง ผลเป็นผลสด รูปไข่
ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทย ใช้ดอกตูมแห้งแก้ปวดฟัน โดยใช้ดอกแช่เหล้าเอาสำลีชุบอุดรูฟัน และใช้ขนาด 5-8 ดอก ชงน้ำเดือด ดื่มเฉพาะส่วนน้ำหรือใช้เคี้ยวแก้ท้องเสีย ขับลม แก้ท้องอืดเฟ้อ นอกจากนี้ใช้ผสมในยาอมบ้วนปากดับกลิ่นปาก พบว่าในน้ำมันหอมรเหยที่กลั่นจากดอกมีสาร eugenol ซึ่งมีฤทธิ์เป็นยาชาเฉพาะที่ จึงใช้แก้ปวดฟัน และมีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ ทำให้เกิดอาการปวดท้องลดลง ช่วยขับน้ำดี ลดอาการจุกเสียดที่เกิดจากการย่อยไม่สมบูรณ์ และสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียหลายชนิดเช่น เชื้อโรคไทฟอยด์ บิดชนิดไม่มีตัว เชื้อหนองเป็นต้น นอกจากนี้ยังกระตุ้นให้มีการหลั่งเมือก และลดการเป็นกรดในกระเพาะอาหารด้วย

ขมิ้นชัน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma longa L.
วงศ์ : Zingiberaceae
ชื่อสามัญ : Turmaric
ชื่ออื่น : ขมิ้น ขมิ้นแกง ขมิ้นหยอก ขมิ้นหัว ขี้มิ้น หมิ้น
ลักษณะ : ไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูง 30-90 ซม. เหง้าใต้ดินรูปไข่มีแขนงรูปทรงกระบอกแตกออกด้านข้าง 2 ด้าน ตรงกันข้ามเนื้อในเหง้าสีเหลืองส้ม มีกลิ่นเฉพาะ ใบ เดี่ยว แทงออกมาเหง้าเรียงเป็นวงซ้อนทับกันรูปใบหอก กว้าง 12-15 ซม. ยาว 30-40 ซม. ดอก ช่อ แทงออกจากเหง้า แทรกขึ้นมาระหว่างก้านใบ รูปทรงกระบอก กลีบดอกสีเหลืองอ่อน ใบประดับสีเขียวอ่อนหรือสีนวล บานครั้งละ 3-4 ดอก ผล รูปกลมมี 3 พู
ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้เหง้ารักษาโรคผิวหนังผื่นคัน โดยทำเป็นผงผสมน้ำหรือเหง้าสด ฝนทาน้ำ มีรายงานว่าพบน้ำมันหอมระเหยและสาร curcumin ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อหนองได้ดี จากการทดลองทารักษาโรคผิวหนังพุพองในเด็กพบว่าให้ผลเท่ายาปฏิชีวนะ นอกจากนี้ยังใช้เหง้ารักษาโรคท้องอืด ท้องเฟ้อและแผลในกระเพาะอาหาร โดยใช้ขนาด 250 มิลลิกรัม กินครั้งละ 2 เม็ด วันละ 4 ครั้งหลังอาหารและก่อนนอน ฤทธิ์แก้ท้องอืดน่าจะเกิดน้ำมันหอมระเหย ส่วนการเพิ่มน้ำย่อยและขับน้ำดีเกิดจาก ฤทธิ์ของ curcumin และ p-tolylcarbinol ทำให้การย่อยอาหารดีขึ้น อาการจุกเสียดลดลง curcumin ยังสามารถยับยั้งการเกิดก๊าซที่สร้างโดยเชื้อโรคที่ทำให้ท้องเสีย (Escherichia coli) แต่ไม่ได้ฆ่าเชื้อ นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งเมือกในทางเดินอาหาร จึงใช้รักษาแผลในกระเพาะอาหารได้ แต่มีข้อควรระวังคือ curcumin ในขนาดที่สูงกว่าขนาดรักษา 2 เท่า ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร

ที่มา : http://www2.oae.go.th/zone/zone4/board/index.php?topic=87.0

วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2554

ทฤษฎีการบริหารการศึกษา

ในการบริหารสถานศึกษา ผู้บริหารควรมีหลักและกระบวนการบริหาร การบริหารการศึกษา หลักการแนวคิดในการบริหาร ภาพรวมของการบริหารทั้งนี้เพื่อให้การจัดการบริหารสถานศึกษามีความเหมาะสมผู้เขียนจะได้กล่าวถึงประเด็นดังกล่าวเพื่อให้เกิดความเข้าใจและมุมมองในการบริหารสถานศึกษายิ่งขึ้นต่อไป
“การบริหาร”(Administration) ใช้ในความหมายกว้าง ๆ เช่น การบริหารราชการ อีกคำหนึ่ง คือ “ การจัดการ” (Management) ใช้แทนกันได้กับคำว่า การบริหาร ส่วนมากหมายถึง การจัดการทางธุรกิจมากกว่าโดยมีหลายท่านได้ระบุดังนี้
Peter F Drucker : คือ ศิลปะในการทำงานให้บรรลุเป้าหมายร่วมกับผู้อื่น (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 2)
Herbert A. Simon :กล่าวว่าคือ กิจกรรมที่บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ร่วมมือกันดำเนินการให้บรรลุวัถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างร่วมกัน (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 2)
การบ ริหาร หมายถึง ศิลปะในการทำให้สิ่งต่าง ๆ ได้รับการกระทำจนเป็น ผลสำเร็จ กล่าวคือ ผู้บริหารไม่ใช้เป็นผู้ปฏิบัติ แต่เป็นผู้ใช้ศิลปะทำให้ผู้ปฏิบัติทำงานจนสำเร็จตามจุดมุ่งหมายที่ผู้บริหาร ตัดสินใจเลือกแล้ว (Simon)
การบริหาร คือ กระบวนการทำงานร่วมกับผู้อื่นเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ (Sergiovanni)
การบริหาร คือ การทำงานของคณะบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ที่รวมปฏิบัติการให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน (Barnard)
การบริหาร หมายถึง กิจกรรมต่างๆ ที่บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปร่วมมือกันดำเนินการ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายๆอย่างที่บุคคลร่วมกัน กำหนดโดยใช้กระบวนอย่างมีระบบและให้ทรัพยากรตลอดจนเทคนิคต่างๆ อย่างเหมาะสม (สมศักดิ์ คงเที่ยง , 2542 : 1)
“การบริหารการศึกษา” หมายถึง กิจกรรมต่างๆ ที่บุคคลหลายคนร่วมกันดำเนินการ เพื่อพัฒนาสมาชิกของสังคมในทุกๆ ด้าน นับแต่ บุคลิกภาพ ความรู้ ความสามารถ เจตคติ พฤติกรรม คุณธรรม เพื่อให้มีค่านิยมตรงกันกับความต้องการของสังคม โดยกระบวนการต่างๆ ที่อาศัยควบคุมสิ่งแวดล้อมให้มีผลต่อบุคคล และอาศัยทรัพยากร ตลอดจนเทคนิคต่างๆ อย่างเหมาะสม เพื่อให้บุคคลพัฒนาไปตรงตามเป้าหมายของสังคมที่ตนดำเนินชีวิตอยู่(ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 6)
“สถานศึกษา” หมายความ ว่าสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย โรงเรียน ศูนย์การศึกษาพิเศษ ศูนย์การศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย ศูนย์การเรียน วิทยาลัย วิทยาลัยชุมชน สถาบันหรือสถานศึกษาที่เรียกชื่ออย่างอื่นของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่หรือมี วัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติและตาม ประกาศกระทรวง(พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา, 2547 : 23)
การบริหารเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์
การ บริหารเป็นสาขาวิชาที่มีการจัดการระเบียบอย่างเป็นระบบ คือมีหลักเกณฑ์และทฤษฎีที่พึงเชื่อถือได้ อันเกิดจาการค้นคว้าเชิงวิทยาศาสตร์ เพื่อประโยชน์ในการบริหาร โดยลักษณะนี้ การบริหารจึงเป็นศาสตร์ (Science) เป็นศาสตร์สังคม ซึ่งอยู่กลุ่มเดียวกับวิชาจิตวิทยา สังคมวิทยา และรัฐศาสตร์แต่ถ้าพิจารณาการบริหารในลักษณะของการ ปฏิบัติที่ต้องอาศัยความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์และทักษะของผู้บริหารแต่ละคน ที่จะ ทำงานให้บรรลุเป้าหมาย ซึ่งเป็นการประยุกต์เอาความรู้ หลักการและทฤษฎีไปรับใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ และสิ่งแวดล้อม การบริหารก็จะมีลักษณะเป็นศิลป์ (Arts) (ที่มา : http://www.kunkroo.com/admin1.html,)
ปัจจัยสำคัญการบริหารที่สำคัญมี 4 อย่าง ที่เรียกว่า 4Ms ได้แก่
1. คน (Man)
2. เงิน (Money)
3. วัสดุสิ่งของ(Materials)
4. การจัดการ (Management)
กระบวนการบริหารการศึกษา
จากหลักการบริหารทั่วไป 14 ข้อของ Fayol ทำให้ต่อมา Luther Gulick ได้นำมาปรับต่อยอดเป็นที่รู้จักกันดีในตัวอักษรย่อที่ว่า “POSDCoRB” กลายเป็นคัมภีร์ของการจัดองค์การในต้นยุคของศาสตร์การบริหารซึ่งตัวย่อแต่ละตัวมีความหมายดังนี้
P – Planning หมายถึง การวางแผน
O – Organizing หมายถึง การจัดองค์การ
S – Staffing หมายถึง การจัดคนเข้าทำงาน
D – Directing หมายถึง การสั่งการ
Co – Coordinating หมายถึง ความร่วมมือ
R – Reporting หมายถึง การรายงาน
B – Budgeting หมายถึง งบประมาณ

ความหมายของทฤษฎีและทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา
ทฤษฎี หมายถึง แนวความคิดหรือความเชื่อที่เกิดขึ้นอย่างมีหลักเกณฑ์มีการทดสอบและการสังเกตจนเป็นที่แน่ใจ ทฤษฎีเป็น เซท(Set) ของมโนทัศน์ที่เชื่อมโยงซึ่งกันและกัน เป็นข้อสรุปอย่างกว้างที่พรรณนาและอธิบายพฤติกรรมการบริหารองค์กรการทาง ศึกษา อย่างเป็นระบบ ถ้าทฤษฎีได้รับการพิสูจน์บ่อย ๆ ก็จะกลายเป็นกฎเกณฑ์ ทฤษฎีเป็นแนวความคิดที่มีเหตุผลและสามารถนำไปประยุกต์ และปฏิบัติได้ ทฤษฎีมีบทบาทในการให้คำอธิบายเกี่ยวกับปรากฎทั่วไปและชี้แนะการวิจัย
ทฤษฎีทางการบริหารและวิวัฒนาการการบริหารการศึกษา
ระยะที่ 1 ระหว่าง ค.ศ. 1887 – 1945 (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 10) ยุคนักทฤษฎี
การบริหารสมัยดั้งเดิม (The Classical organization theory) แบ่งย่อยเป็น 3 กลุ่มดังนี้
1.กลุ่มการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ของเทย์เลอร์(Scientific Management)ของเฟรดเดอริก เทย์เลอร์ (Frederick Taylor) ความมุ่งหมายสูงสุดของแนวคิดเชิงวิทยาศาสตร์คือ จัดการบริหารธุรกิจหรือโรงงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด Taylor มองคนงานแต่ละคนเปรียบเสมือนเครื่องจักรที่สามารถปรับปรุงเพื่อเพิ่มผลผลิตขององค์การได้ เจ้าของตำรับ “The one best way” คือประสิทธิภาพของการทำงานสูงสุดจะเกิดขึ้นได้ต้องขึ้นอยู่กับสิ่งสำคัญ 3 อย่างคือ
1.1 เลือกคนที่มีความสามารถสูงสุด (Selection)
1.2 ฝึกอบบรมคนงานให้ถูกวิธี (Training)
1.3 หาสิ่งจูงใจให้เกิดกำลังใจในการทำงาน (Motivation)
เทย์เลอร์ ก็คือผลผลิตของยุคอุตสาหกรรมในงานวิจัยเรื่อง “Time and Motion Studies” เวลา และการเคลื่อนไหว เชื่อว่ามีวิธีการการทางวิทยาศาสตร์ที่จะบรรลุวัตถุประสงค์เพียงวิธีเดียว ที่ดีที่สุด เขาเชื่อในวิธีแบ่งงานกันทำ ผู้ปฏิบัติระดับล่างต้องรับผิดชอบต่อระดับบน เทย์เลอร์ เสนอ ระบบการจ้างงาน(จ่ายเงิน)บนพื้นฐานการสร้างแรงจูงใจ สรุปหลักวิทยาศาสตร์ของเทยเลอร์สรุปง่ายๆประกอบด้วย 3 หลักการดังนี้
1. การแบ่งงาน (Division of Labors)
2. การควบคุมดูแลบังคับบัญชาตามสายงาน (Hierarchy)
3. การจ่ายค่าจ้างเพื่อสร้างแรงจูงใจ (Incentive payment)
2. กลุ่มการบริหารจัดการ(Administration Management) หรือ ทฤษฎีบริหารองค์การอย่างเป็นทางการ(Formal Organization Theory ) ของ อังรี ฟาโยล (Henri Fayol) บิดาของทฤษฎีการปฏิบัติการและการจัดการตามหลักบริหาร ทั้ง Fayol และ Taylor จะเน้นตัวบุคลปฏิบัติงาน + วิธีการทำงาน ได้ประสิทธิภาพและประสิทธิผลแต่ก็ไม่มองด้าน “จิตวิทยา” (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 17)Fayol ได้เสนอแนวคิดในเรื่องหลักเกี่ยวกับการบริหารทั่วไป 14 ประการ แต่ลักษณะที่สำคัญ มีดังนี้
2.1 หลักการทำงานเฉพาะทาง (Specialization) คือการแบ่งงานให้เกิดความชำนาญเฉพาะทาง
2.2 หลักสายบังคับบัญชา เริ่มจากบังคับบัญชาสูงสุดสู่ระดับต่ำสุด
2.3 หลักเอกภาพของบังคับบัญชา (Unity of Command)
2.4 หลักขอบข่ายของการควบคุมดูแล (Span of control) ผู้ดูแลหนึ่งคนต่อ 6 คนที่จะอยู่ใต้การดูแลจึงจะเหมาะสมและมีประสิทธิภาพที่สุด
2.5 การสื่อสารแนวดิ่ง (Vertical Communication) การสื่อสารโดยตรงจากเบื้องบนสู่เบื้องล่าง
2.6 หลักการแบ่งระดับการบังคับบัญชาให้น้อยที่สุด คือ ไม่ควรมีสายบังคับบัญชายืดยาว หลายระดับมากเกินไป
2.7 หลักการแบ่งความรับผิดชอบระหว่างสายบังคับบัญชาและสายเสนาธิการ (Line and Staff Division)
3. ทฤษฎีบริหารองค์การในระบบราชการ(Bureaucracy) มาจากแนวคิดของ แมกซ์ เวเบอร์ (Max Weber) ที่กล่าวถึงหลักการบริหารราชการประกอบด้วย
3.1 หลักของฐานอำนาจจากกฎหมาย
3.2 การแบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบ ที่ต้องยึดระเบียบกฎเกณฑ์
3.3 การแบ่งงานตามความชำนาญการเฉพาะทาง
3.4 การแบ่งงานไม่เกี่ยวกับผลประโยชน์ส่วนตัว
3.5 มีระบบความมั่นคงในอาชีพ
จะ อย่างไรก็ตามระบบราชการก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ซึ่งในด้าน ข้อเสีย คือ สายบังคับบัญชายืดยาวการทำงานต้องอ้างอิงกฎระเบียบ จึงชักช้าไม่ทันการแก้ไขปัญหาในปัจจุบัน เรียกว่า ระบบ “Red tape” ใน ด้านข้อดี คือ ยึดประโยชน์สาธารณะเป็นหลัก การบังคับบัญชา การเลื่อนขั้นตำแหน่งที่มีระบบระเบียบ แต่ในปัจจุบันระบบราชการกำลังถูกแทรกแซงทางการเมืองและทางเศรษฐกิจ ทำให้เริ่มมีปัญหา
ระยะที่ 2 ระหว่าง ค.ศ. 1945 – 1958 (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 10) ยุคทฤษฎีมนุษยสัมพันธ์ (Human Relation ) Follette ได้นำเอาจิตวิทยามาใช้และได้เสนอการแก้ปัญหาความขัดแย้ง(Conflict) ไว้ 3 แนวทางดังนี้
1. Domination คือ ใช้อำนาจอีกฝ่ายสยบลง คือให้อีกฝ่ายแพ้ให้ได้ ไม่ดีนัก
2. Compromise คือ คนละครึ่งทาง เพื่อให้เหตุการณ์สงบโดยประนีประนอม
3. Integration คือ การหาแนวทางที่ไม่มีใครเสียหน้า ได้ประโยชน์ทั้ง 2 ทาง (ชนะ ชนะ) นอกจากนี้ Follette ให้ทัศนะน่าฟังว่า “การเกิดความขัดแย้งในหน่วยงานเป็นความพกพร่องของการบริหาร” (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 25)
การวิจัยหรือการทดลองฮอร์ทอร์น(Hawthon Experiment) ที่ เมโย(Mayo) กับคณะทำการวิจัยเริ่มที่ข้อสมมติฐานว่าสิ่งแวดล้อมมีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของคน งาน มีการค้นพบจากการทดลองคือมีการสร้างกลุ่มแบบไม่เป็นทางการในองค์การ ทำให้เกิดแนวความคิดใหม่ที่ว่า ความสัมพันธ์ของมนุษย์ มีความสำคัญมาก ซึ่งผลการศึกษาทดลองของเมโยและคณะ พอสรุปได้ดังนี้
1. คนเป็นสิ่งมีชีวิต จิตใจ ขวัญ กำลังใจ และความพึงพอใจเป็นเรื่องสำคัญในการทำงาน
2. เงินไม่ใช่ สิ่งล่อใจที่สำคัญแต่เพียงอย่างเดียว รางวัลทางจิตใจมีผลต่อการจูงใจในการทำงานไม่น้อยกว่าเงิน
3. การทำงานขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมทางสังคมมากกว่าสภาพแวดล้อมทางกายภาพคับที่อยู่ได้คับใจอยู่อยาก
ข้อคิดที่สำคัญ การตอบสนองคน ด้านความต้องการศักดิ์ศรี การยกย่อง จะส่งผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานจากแนวคิด “มนุษยสัมพันธ์”*
ระยะที่ 3 ตั้งแต่ ค.ศ. 1958 – ปัจจุบัน (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 11) ยุคการใช้ทฤษฎีการบริหาร(Administrative Theory)หรือการศึกษาเชิงพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral Science Approach) ยึดหลักระบบงาน + ความสัมพันธ์ของคน + พฤติกรรมขององค์การ ซึ่งมีแนวคิด หลักการ ทฤษฎีที่หลายๆคนได้แสดงไว้ดังต่อไปนี้
1.เชสเตอร์ ไอ บาร์นาร์ด (Chester I Barnard ) เขียนหนังสือชื่อ The Function of The Executive ที่ กล่าวถึงงานในหน้าที่ของผู้บริหารโดยให้ความสำคัญต่อบุคคลระบบของความร่วม มือองค์การ และเป้าหมายขององค์การ กับความต้องการของบุคคลในองค์การต้องสมดุลกัน
2.ทฤษฎีของมาสโลว์ ว่าด้วยการจัดอันดับขั้นของความต้องการของมนุษย์ (Maslow – Hierarchy of needs) เป็น เรื่องแรงจูงใจแบ่งความต้องการของมนุษย์ตั้งแต่ความต้องการด้านกายภาพ ความต้องการด้านความปลอดภัยความต้องการด้านสังคม ความต้องการด้านการเคารพ – นับถือ และประการสุดท้าย คือ การบรรลุศักยภาพของตนเอง (Self actualization) คือมีโอกาสได้พัฒนาตนเองถึงขั้นสูงสุดจากการทำงาน แต่ความต้องการเหล่านั้นต้องได้รับการสนองตอบตามลำดับขั้น
3.ทฤษฎี X ทฤษฎี Y ของแมคกรีกอร์(Douglas MC Gregor Theory X Theory Y ) เขาได้เสนอแนวคิดการบริหารอยู่บนพื้นฐานของข้อสมมติฐานเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ต่างกัน ทฤษฎี X(The Traditional View of Direction and Control) ทฤษฎีนี้เกิดข้อสมติฐานดังนี้
1. คนไม่อยากทำงาน และหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบ
2. คนไม่ทะเยอทะยาน และไม่คิดริเริ่ม ชอบให้การสั่ง
3. คนเห็นแก่ตนเองมากกว่าองค์การ
4. คนมักต่อต้านการเปลี่ยนแปลง
5. คนมักโง่ และหลอกง่าย
ผลการมองธรรมชาติของมนุษย์เช่นนี้ การบริหารจัดการจึงเน้นการใช้เงิน วัตถุ เป็นเครื่องล่อใจ เน้นการควบคุม การสั่งการ เป็นต้น
ทฤษฎี Y(The integration of Individual and Organization Goal) ทฤษฎีข้อนี้เกิดจากข้อสมติฐานดังนี้
1. คนจะให้ความร่วมมือ สนับสนุน รับผิดชอบ ขยัน
2. คนไม่เกียจคร้านและไว้วางใจได้
3. คนมีความคิดริเริ่มทำงานถ้าได้รับการจูงใจอย่างถูกต้อง
4. คนมักจะพัฒนาวิธีการทำงาน และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
ผู้บังคับบัญชาจะไม่ควบคุมผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างเข้มงวด แต่จะส่งเสริมให้รู้จักควบคุมตนเองหรือของกลุ่มมากขึ้น ต้องให้เกียรติซึ่งกันและกันจากความเชื่อที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดระบบการบริหารที่แตกต่างกันระหว่างระบบที่เน้นการควบคุมกับระบบที่ ค่อนข้างให้อิสระภาพ
4.อูชิ (Ouchi ) ชาวญี่ปุ่นได้เสนอ ทฤษฎี Z (Z Theory) (William G. Ouchi) ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัย UXLA (I of California Los Angeles) ทฤษฎีนี้รวมเอาหลักการของทฤษฎี X , Y เข้า ด้วยกัน แนวความคิดก็คือ องค์การต้องมีหลักเกณฑ์ที่ควบคุมมนุษย์ แต่มนุษย์ก็รักความเป็นอิสระ และมีความต้องการหน้าที่ของผู้บริหารจึงต้องปรับเป้าหมายขององค์การให้สอด คล้องกับเป้าหมายของบุคคลในองค์การ
สรุปเพื่อออมชอมสองทฤษฎี มีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการคือ
1. การทำให้ปรัชญาที่กำหนดไว้บรรลุ
2. การพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชาให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
3. การให้ความไว้วางใจแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา
4. การให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ

อ้างอิง
ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ,และวิบูลย์ โตวณะบุตร.2542).หลักและทฤษฎีการบริหารการศึกษา.กรุงเทพฯ :สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ศิริพงษ์ เศาภายน,(2548).หลักการบริหารการศึกษา :ทฤษฎีและแนวปฏิบัติ.พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพฯ : บุ๊ค พอยท์.
สมศักดิ์ คงเที่ยง,(ม.ป.ป.)หลักและทฤษฎีการบริหารการศึกษา.กรุงเทพฯ :มิตรภาพ การพิมพ์และสติวดิโอ

วันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2554

การสื่อสารในองค์กร
ความหมายของการสื่อสารในองค์กร
การสื่อสารในองค์กร หมายถึง กระบวนการในการแลกเปลี่ยนข่าวสารของหน่วยงานกับบุคลากรทุกระดับภายในองค์กร ซึ่งมีความสัมพันธ์กันภายใต้สภาพแวดล้อม บรรยากาศขององค์กร และสังคม ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงไปได้ตามสถาการณ์
กระบวนการสื่อสาร
การสื่อสารให้เป็นระบบแล้ว คงจะช่วยให้เข้าใจการสื่อสารได้ดียิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้ กระบวนการสื่อสารประกอบด้วย
แหล่งข้อมูล คือ แหล่งที่มาของงข้อมูลข่าวสาร หรือเป็นต้นตอของแหล่งข้อมูลข่าวสารนั่นเอง
ข่าวสาร คือ เนื้อหาสาระที่ต้องส่งไป
ผู้ส่ง คือ บุคคลที่จะเป็นผู้ดำเนินการส่งข่าวสาร
ผู้รับ คือ ผู้เป็นเป้าหมายในการรับข่าวสาร ซึ่งถือว่าเป็นเป้าหมายสุดท้ายของการสื่อสาร
ประเภทของสื่อที่ใช้ในการสื่อสารในองค์กร
สื่อหรือช่องทาง ใช้เพื่อให้ข่าวสารนั้นไหลหรือถูกพาไปยังผู้รับสาร พอจะแบ่งออกได้ 3 ประเภท ดังนี้
ประเภทการใช้ภาษา ได้แก่ การพูด คำพูด ซึ่งการใช้ภาษานับว่าเป็นการสื่อสารที่ใช้กันมาก
ประเภทไม่ใช้ภาษา ได้แก่ สัญาลักษณ์ การเขียนข้อความ ภาพ หรือเครื่องหมายต่างๆ เป็นต้น
ประเภทอาศัยการแสดง/พฤติกรรม
รูปแบบของการสื่อสาร
การสื่อสารโดยทั่วๆ ไปแล้ว สามารถแยกรูปแบบออกได้ดังนี้
การสื่อสารภายในตัวบุคคล
การติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคล
การสื่อสารแบบกลุ่มใหญ่ แบบนี้ไม่มีให้เห็นมากนัก แต่ก็มีบางงานใช้
การสื่อสารภายในองค์กร
การสื่อสารมวลชน
ลักษณะการสื่อสารในองค์กร
ลักษณะการสื่อสารในองค์กร โดยทั่วๆไปจะมีรูปแบบอยู่ 3 ลักษณะ คือ
การสื่อสารระหว่างบุคคล หมายถึง การสื่อสารกันระหว่างพนักงานต่อพนักงาน หรือระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง เป็นต้น
การสื่อสารระหว่างหน่วยงานภายในองค์กร หมายถึง การสื่อสารกันระหว่างหน่วยงาน ภายในองค์กร
การสื่อสารระหว่างองค์กร หมายถึง การติดต่อที่เกิดขึ้นระหว่างองค์กรต่อองค์กร
จุดมุ่งหมายของการสื่อสารในองค์กร
การสื่อสารในองค์กรที่เกิดขึ้นเพื่อการประสานงาน และสร้างความเข้าใจต่อกัน ทั้งนี้ก็เพื่อให้งานสำเร็จตามเป้าหมาย
ฉะนั้น พอจะสรุปจุดมุ่งหมายได้ดังนี้
เพื่อการควบคุมการปฏิบัติงานได้ดีขึ้น
เพื่อการให้ข้อมูลที่เป็นพื้นฐานในการตัดสินใจ
เพื่อการจูงใจและกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือ ร่วมใจกันทำงานในองค์กร
เพื่อการแสดงออกซึ่งความรู้สึกต่างๆ เพื่อให้หัวหน้าหรือพนักงานด้วยกันมีความเข้าใจกัน
เทคนิคการสื่อสารในองค์กร
เทคนิคในการสื่อสาร จะมีลักษณะสำคัญ 3 ประการ คือ
เทคนิคการสื่อสารจากระดับบนสู่ล่าง ได้แก่ การสื่อสารจากผู้บังคับบัญชาลงสู่ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา
เทคนิคการสื่อสารจากระดับล่างสู่บน ได้แก่ การศึกษาจากผู้ใต้บังคับบัญชา ติดต่อขึ้นตามคำสั่ง ตามลำดับขั้น จนถึงผู้บังคับบัญชา
เทคนิคการสื่อสารระดับเดียวกัน เช่น ระหว่างเพื่อนร่วมงาน บุคคลในระดับเดียวกัน
รูปแบบของเครือข่ายการติดต่อสื่อสาร
ในการจัดเครือข่ายการสื่อสาร เพื่อให้มีการติดต่อสื่อสารกัน สามารถแบ่งออกได้ดังนี้
แบบลูกโซ่ (Chain) เป็นเครือข่ายที่พบความผิดพลาดอยู่เสมอ
แบบวงล้อหรือดาว (Wheel or Star) เป็นเครือข่ายของการประสานงานแบบเผด็จการ
แบบวงกลม (Circle) เป็นการติดต่อข่าวสารกันแบบต่อเนื่องกัน ซึ่งให้ประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาได้ต่ำ
แบบว่าว (Kite) เป็นการติดต่อที่ผสมผสานกันทั้งแบบลูกโซ่และแบบวงล้อี่
แบบทุกช่องทาง (All Channel) เป็นเครือข่ายการติดต่อสื่อสารที่มีการประสารกันได้ทุกจุด ทำให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
หลักสำคัญในการติดต่อสื่อสารที่ดี
เพื่อให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ทำให้ผู้ส่งและผู้รับมีข่าวสารตรงกันและรวดเร็ว จึงสมควรยึดหลัก 7 C คือ
ความเชื่อถือได้
ความเหมาะสม
มีเนื้อหาสาระ
ความสม่ำเสมอและความต่อเนื่อง
ช่องทางข่าวสาร
ความสามารถของผู้รับสาร
ความชัดเจนแจ่มแจ้งของข่าวสาร
ฉะนั้น จากหลักการ 7 C นี้คงจะช่วยให้การจัดระบบติดต่อสื่อสาร เกิดผลของการสื่อสารที่ดีเกิดขึ้นในองค์กรได้ ซึ่งหากมีการติดต่อสื่อสารที่ดี ย่อมส่งผลให้เกิดการจัดการบริหารงานที่ดีไปด้วย
มนุษย์สัมพันธ์กับการสื่อสารในองค์กรที่มีประสิทธิภาพ
การสื่อสารให้เกิดความรวดเร็วและเที่ยงตรง ในยุคปัจจุบันในบริษัทหรือองค์กรต่าง ๆ กำลังพัฒนาเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร มีความก้าวหน้ารวดเร็วทันสมัยทั้งนี้ก็เพื่อให้สิ่งนี้มาช่วยพัฒนางานหากระบบการสื่อสารในองค์กรมีประสิทธิภายังช่วยสร้างบรรยากาศการทำงานและมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีให้เกิดในหมู่คณะพนักงานและผู้บริหารด้วย ดังนั้น การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพสามารถสรุปได้ ดังนี้
รู้กระบวนการและขั้นตอนการสื่อสาร บุคคลในสถานทีประกอบการต้องรู้กระบวนการและขั้นตอนเพื่อการสื่อสาร ดังนี้
- ความตั้งใจที่จะสื่อสาร
- มีความเข้าใจในสาระการสื่อสาร
- มีการยอมรับในข่าวสาร
- ปฏิบัติตามข่าวสาร
ใช้สื่อและภาษาธรรมดา
ต้องพยายามเข้าใจธรรมชาติของผู้ส่งและผู้รับการสื่อสาร
ต้องพยายามเข้าใจกิริยาท่าทาง
การพัฒนาประสิทธิภาพการฟังที่ดี
สื่อและเครื่องมือในการสื่อสารต้องดีและเอื้ออำนวย
ควรมีการวางแผนและเตรียมตัวที่ดี
ลักษณะของการสั่งการที่ดี
การสั่งการที่ดีต้องเป็นคำสั่งที่สามารถปฏิบัติได้ ผู้รับคำสั่งจะต้องมีอำนาจ เวลา และอุปกรณ์ในการดำเนินงานเพียงพอที่จะปฏิบัติตามคำสั่งนั้น ๆ ดังนั้น การสั่งการที่ดีควรมีลักษณะดังนี้
เป็นเรื่องที่ผู้รับคำสั่งสนใจ เช่น งานที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่โดยตรง
คำสั่งต้องเกี่ยวข้องกับหน่วยงาน
คำสั่งต้องเหมาะสม ชัดเจน เข้าใจง่าย และสามารถปฏิบัติได้
คำสั่งต้องแน่นอน ควรเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อป้องกันความผิดพลาด
ความหมายของการควบคุมงาน
การควบคุม หมายถึง การตรวจสอบการปฏิบัติงาน ว่าเป็นไปตามแผนที่วางไว้และได้มาตราฐานที่กำหนดไว้หรือไม่ แล้วแนะนำการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามแนและมาตราฐานที่กำหนดไว้
ความมุ่งหมายของการปฏิบัติงาน
เพื่อตรวจสอบดูว่างานที่ได้รับมอบหมายไปปฏิบัติดำเนินไปตามแผนงานและมาตราฐานที่กำหนดไว้หรือไม่
เพื่อตรวจสอบวิธีปฏิบัติงานว่าดำเนินไปตามหลักการที่ดีหรือไม่เพียงใด
เพื่อตรวจสอบความก้าวหน้าของงานว่าดีเพียงใด
เพื่อตรวจสอบการดำเนินงานว่ามีอุปสรรคหรือปัญหาประการใด เมื่อใด เพียงใด
เพื่อแนะนำปรับปรุงแก้ไข เมื่อเกิดอุปสรรคและปัญหา
ที่มา : นางสาวนงคราญ ดงเย็น นางสาวสุพัตรา ยศตื้อ นางสาวแสงอรุณ สันวงค์
บุคลิกลักษณะของการเป็นผู้นำ
“บุคลิกลักษณะของการเป็นผู้นำ คือ คุณลักษณะอันเป็นนิสัยของมนุษย์ที่ถือและยอมรับกัน โดยทั่วไปแล้ว ว่าเป็นคุณลักษณะอันเป็นพื้นฐานที่จะทำให้บุคคลสามารถปฏิบัติการอันเป็นผู้นำได้”
บุคลิกลักษณะของการเป็นผู้นำนั้นนับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะจะทำให้ผู้อื่นหรือผู้ใต้บังคับบัญชาเกิดความศรัทธาเชื่อถือและให้ความไว้วางใจแก่ตนได้ บุคลิกลักษณะต่าง ๆ ที่จะกล่าวต่อไปนี้ ทางองค์การวิจัยและค้นคว้าได้รวบรวมมาจากบุคคลสำคัญ ๆ ของโลก โดยได้จำแนกเอาบุคลิกต่าง ๆ จากท่านเหล่านั้นมาเพื่อเป็นแนวทางศึกษา ฉะนั้นบุคลิกลักษณะต่าง ๆ ที่ผู้นำพึงมีนั้นสามารถสร้างขึ้นได้ถึง 80 – 85 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้เพราะมนุษย์เรามีสมองคอยบังคับอยู่ จะฝึกหัดหรืออบรมกันอย่างไรก็ย่อมทำได้โดยไม่ยากนัก
บุคลิกลักษณะของมนุษย์เรานี้สามารถแยกออกได้เป็น 4 ประเภท คือ
1. สติปัญญา (Intelligence) คือความสามารถในการที่จะศึกษาและเข้าใจได้จากประสบการณ์ต่าง ๆ ที่เคยผ่านมา อันนี้เป็นบุคลิกลักษณะที่ผู้นำควรมีไว้อย่างมากทีเดียว เพราะนอกจากจะทำให้เกิดคุณลักษณะอย่างอื่น ๆ แก่ตนเองแล้ว ยังสามารถใช้สติปัญญานี้วินิจฉัยปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างเฉียบแหลมและทันท่วงทีอีกด้วย
2. อุปนิสัย (Character) คือ แบบลักษณะของบุคคลซึ่งแสดงให้เห็นทางอาการกริยาซึ่งคุณสมบัติอันเป็นนิสัยประจำตัวของมนุษย์เรานั่นเอง อุปนิสัยส่วนหนึ่งได้จากธรรมชาติคือได้จากการสืบสายโลหิตมาเพียง 5 – 8 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น นอกจากนั้นอบรมแก้ไขกันได้
3. อารมณ์ (Temperament) คือ กรอบของความรู้สึกนึกคิดและความต้องการตามธรรมชาติอารมณ์นี้จึงเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจจากประสาททั้ง 5 คือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส โดยที่ประสาททั้ง 5
นี้จะส่งอาการต่าง ๆ ที่รับมาไปยังอารมณ์ ต่อจากนั้นอารมณ์ก็จะส่งอาการไปบังคับ หรือควบคุมจิตใจให้ทำอะไรตามความประสงค์ ฉะนั้นอารมณ์จึงมีความสำคัญต่อการเป็นผู้นำมาก เพราะเกี่ยวกับการบังคับตนเอง เมื่อเราสามารถบังคับตัวเองได้แล้ว จึงสามารถบังคับหรือควบคุมผู้อื่นหรือผู้ใต้บังคับบัญชาได้
4. ร่างกาย (Physic) คือ ลักษณะการสร้าง หรือรูปร่างที่สร้างขึ้นของมนุษย์ เช่น สูง ต่ำ ดำ ขาว เป็น
ต้น ร่างกายมีความสัมพันธ์กับอารมณ์มาก เพราะมันมีความรู้สึกได้ง่าย และย่อมถูกอารมณ์บังคับได้ด้วย ฉะนั้นร่างกายจึงต้องดีพร้อม และมีสุขภาพสมบูรณ์จึงจะนับว่าเป็นผู้นำที่ดีได้ ยิ่งกว่านั้น
ภาวะของร่างกายที่ดีย่อมแสดงออกซึ่งบุคลิกลักษณะของการเป็นผู้นำให้เด่นชัดเจนขึ้นมาอีก
บุคลิกลักษณะของมนุษย์ 4 ประการ ที่ได้แยกออกมาเป็นบุคลิกลักษณะใหญ่ ๆ โดยทั่ว ๆ ไป ในการที่จะเป็นผู้นำที่ดีนั้น ควรจะต้องมีพร้อมทั้ง 4 ประการ คือ มีสติปัญญาดี อุปนิสัยดี มีอารมณ์หรือกรอบของความรู้สึกนึกคิดดี ตลอดจนมีร่างกายแข็งแรงและสมบูรณ์ดี ซึ่งมนุษย์เราสามารถสร้างบุคลิกลักษณะเหล่านี้ได้เองเป็นส่วนมาก
บุคลิกลักษณะ 20 ประการของการเป็นผู้นำ
บุคลิกลักษณะของการเป็นผู้นำนั้น ถ้าจะกล่าวโดยละเอียดแล้ว ย่อมมีอยู่มากมาย แต่ในที่นี้เราจะนำมากล่าวเฉพาะที่สำคัญ ๆ และเห็นว่าจะเป็นประโยชน์แก่การศึกษาและยึดถือเป็นแบบอย่างเท่านั้น ซึ่งลักษณะดังกล่าวนี้มีอยู่ด้วยกัน 20 ประการ คือ
1. ความรู้ (Knowledge)
2. ความกล้าหาญ (Courage)
3. ความเด็ดขาด ( Decisiveness)
4. ความไม่เห็นแก่ตัว (Unselfishness)
5. ความสงบเสงี่ยม (Humility)
6. ความยุติธรรม (Justice)
7. ความแนบเนียบ (Tact)
8. ท่าทาง (Bearing)
9. ดุลยพินิจ (Judgement)
10. การสังคมดี (Socialability)
LEADERSHIP
11. L – Loyalty (ความจงรักภักดี)
12. E – Enthusiasm (ความกระตือรือร้น)
13. A – Alertness (ความตื่นตัว)
14. D – Dependability (ความไว้วางใจได้)
15. E – Endurance (ความอดทน)
16. R – Responsibility & Accountability (หน้าที่และความรับผิดชอบ)
17. S – Self – Control (การบังคับตัวเอง)
18. H – Humanity (ความเห็นอกเห็นใจ)
19. I – Initiative (ความริเริ่ม)
20. P – Personality (ความมีอำนาจในตัว)]

วันจันทร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

มรดกของไทย


การอนุรักษ์โบราณสถานต่าง ๆ อยู่ในความรับผิดชอบดูแลของกรมศิลปากร ซึ่งได้เริ่มงานอย่างจริงจัง ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๙ โดยเริ่มขุดแข่งบูรณะพระราชวังโบราณ วิหารพระมงคลบพิตร วัดพระศรีสรรเพชญ วัดพระราม วัดมหาธาตุ และวัดราชบูรณะ


ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๔ ก็ได้ดำเนินการสำรวจและขึ้นทะเบียนโบราณสถานต่าง ๆ จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๑๐ จึงได้ประกาศ เขตอุทยานประวัติศาสตร์มีพื้นที่ครอบคลุมโบราณสถานดังกล่าว มีพื้นที่รวมทั้งสิ้น ๑๘๑๐ปี พ.ศ. ๒๔๓๔ องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ( United Nation Education Science and Culture Organization) ได้คัดเลือกให้นครประวัติศาสตร์ศรีอยุธยา เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม นับเป็นเกียรติอันสูงส่ง ของไทย ที่นานาชาติได้เห็นคุณค่า และความสำคัญ อย่างยิ่งยวดของมรดกไทยอันมีคุณค่ายิ่งขอไทย


โบราณสถานทั้งในเกาะเมืองและรอบเกาะเมืองมีอยู่มากมายหลายร้อยแห่ง เมื่อกาลเวลาผ่านไปก็ได้ถูกทำลายลงไป ในรูปแบบต่าง ๆ มากมาย จากการสำรวจเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๐ พบว่า ในบริเวณดังกล่าวมีโบราณสถานมากกว่า ๔๐๐ แห่ง แต่ต่อมาอีก ๒๐ ปี คือเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๓๐ โบราณสถานดังกล่าวได้ถูกทำลายไปจนเหลืออยู่เพียง ๒๔๙ แห่งเท่านั้น นับว่าเป็นเรื่องที่น่ากังวล ห่วงใยในมรดกของชาติในส่วนนี้เป็นอย่างยิ่ง สมควรที่ชาวไทยทุกหมู่ทุกเหล่าได้มีจิตสำนึก ในการอนุรักษ์มรดกไทย ซึ่งแม้แต่ประชาคมโลกก็ยังเห็นคุณค่าอันสูงส่งนี้ ให้ดำรงคงอยู่เป็นเกียรติประวัติ เป็นความภาคภูมิใจ ของประชาชาวไทยตลอดไป